เหตุการณ์ในปี 1905 ของ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

ยุทธการซันเดปุ

ระหว่างวันที่ 25 ถึง 29 มกราคม กองพลที่สองของจักรวรรดิรัสเซียภายใต้บัญชาของ นายพล ออสการ์ กริเปนเบิร์ก เข้าโจมตีขนาบข้างกองทหารญี่ปุ่นใกล้กับตำบลซันเดปุ (ทางใต้ของมุกเดน) โดยที่กองทหารญี่ปุ่นนั้นไม่ทันตั้งตัว การโจมตีดำเนินไปเรื่อยๆ แต่ด้วยขาดการสนับสนุนจากกองทหารรัสเซียหน่วยอื่นทำให้รัสเซียต้องยุติการโจมตีโดยคำสั่งจาก พลเอก อะเลคเซย์ กูโรแพทกิน รัฐมนตรีว่าการสงคราม และไม่สามารถตัดสินผลการรบได้ ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นก็ตระหนักได้ว่า ญี่ปุ่นต้องทำลายกองทหารราบของรัสเซียให้สิ้นก่อนที่กำลังเสริมของรัสเซียจะมาถึงผ่านทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย

ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ

ดูบทความหลักที่: ยุทธนาวีช่องแคบสึชิมะ

ระหว่างที่กองเรือแปซิฟิกที่ 2 แห่งจักรวรรดิรัสเซีย (กองเรือบอลติก) เดินทางข้ามทะเลกว่า 33,000 กิโลเมตรมาพอร์ตอาเธอร์ ขวัญและกำลังใจของทหารเรือรัสเซียถูกบั่นทอนไปอย่างมากตั้งแต่กองเรือเดินทางถึงมาดากัสการ์ และทราบข่าวถึงความพ่ายแพ้อย่างหมดท่าที่พอร์ตอาเธอร์ พลเรือตรี โรซเดสท์เวนสกี ตอนนี้ได้แต่หวังให้กองเรือไปถึงท่าเรือวลาดิวอสต็อกโดยเร็วที่สุด ซึ่งมีอยู่ 3 เส้นทางด้วยกันที่จะยังวลาดิวอสต็อก ซึ่งเส้นทางที่ใกล้ที่สุดต้องผ่านช่องแคบสึชิมะ ที่อยู่ระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น แต่ทั้งนี้ เส้นทางนี้ก็เป็นเส้นทางที่เสี่ยงที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่กองเรือญี่ปุ่นใช้สัญจรระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีซึ่งญี่ปุ่นตั้งฐานทัพเรืออยู่

พลเรือเอกโทโง ได้ตระหนักอย่างดีถึงความเคลื่อนไหวของรัสเซียภายหลังจากเสียดินแดนพอร์ตอาเธอร์ไป ว่ากองเรือรัสเซียกำลังพยายามไปเทียบท่าที่ท่าเรือรัสเซียอื่นๆในตะวันออกไกล ตลอดจนวลาดิวอสต็อก ระหว่างนี้ นายพลโทโงได้เริ่มวางแผนการรบ และซ่อมบำรุงเรือรบต่างๆ เพื่อเตรียมรับกับการมาเยือนของกองเรือบอลติก

กองเรือผสมของญี่ปุ่น แต่เดิมมีเรือประจัญบาน 6 ลำ ได้ถูกปรับลดเหลือ 4 ลำ (2 ลำนำไปใช้งานเกี่ยวกับเหมืองแร่) และมีเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตตอรืปิโดตลอดจนเรืออื่นๆ อีก 104 ลำ ในขณะที่กองเรือบอลติก ประกอบด้วยเรือประจัญบาน 8 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้มีเรือชั้น บอร์โอดิโน (Borodino) ซึ่งเป็นเรือชั้นใหม่ เข้าร่วมภารกิจด้วย และประกอบด้วยเรือลาดตระเวนและเรือพิฆาตตอรืปิโดตลอดจนเรืออื่นๆ รวมกันอีก 20 ลำ

เช้าวันที่ 27 พฤษภาคม 1905 ภาพถ่ายกองเรือญี่ปุ่นมุ่งหน้าสู่กองเรือบอลติก

ปลายเดือน พฤษภาคม 1905 กองเรือบอลติกใกล้จะถึงวลาดิวอสต็อก และเลือกเส้นทางที่ใกล้และเสี่ยงกว่า คือผ่านช่องแคบสึชิมะ โดยเลือกที่จะเดินทางในตอนกลางคืนเพื่อเลี่ยงที่จะถูกตรวจเจอ แต่นับเป็นโชคร้ายของกองเรือรัสเซีย ขณะผ่านช่องแคบในคืนวันที่ 26 พฤษภาคม 1905 เรือพยาบาลที่ตามมายังคงเปิดเดินเครื่องยนต์และส่องไฟเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายการสงคราม[31] ทำให้กองเรือบอลติกถูกตรวจเจอโดยกองเรือลาดตระเวนรับจ้างของญี่ปุ่น ชินะโนะ มะรุ โดยได้ส่งสัญญาณวิทยุแจ้งไปยังศูนย์บัญชาการของพลเรือเอกโทโง และกองเรือผสมก็ได้รับคำสั่งออกปฏิบัติการในทันที[32] นอกจากนี้ยังได้รับข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองทหารเรือของญี่ปุ่นที่ไปสอดแนมมา ว่ากองเรือรัสเซีย จัดกระบวนเรือเป็นแถวตอนเรียงสอง ทำให้นายพลโทโง ตัดสินใจจะทำการ "ข้ามกระบวน T"[33] กับกระบวนเรือรัสเซีย (นำกระบวนเรือฝ่าอีกกระบวนเรือในทิศทางตั้งฉาก) การปะทะเปิดฉากขึ้น ในเวลา 14.08น. ของวันที่ 27 พฤษภาคม โดยกองเรือรัสเซียเปิดฉากโจมตีด้วยการระดมยิงใส่กองเรือผสมของญี่ปุ่น กองเรือญี่ปุ่นแล่นตัดทะลุกระบวนเรือทั้งสองแถวของรัสเซียทำมุม 40° แล้วเลี้ยวกลับเป็นรูปตัวยู (U) หัวแถวของกองเรือรัสเซียเสียขบวน และถูกบีบให้แล่นขนานกับกองเรือผสมของนายพลโทโง ควันจากปล่องไฟของกองเรือรัสเซียลอยบังทางปืนของตัวเอง จากนั้นเรือรบทุกลำของกองเรือญี่ปุ่นก็ระดมยิงใส้เรือกองเรือบอลติก กองเรือบอลติกไม่สามารถต้านทางกองเรือญี่ปุ่นได้จนเรือหลายลำต้องหนี แต่หลายลำก็ถูกไล่ตามจนทัน การรบวันแรกสิ้นสุดลงในเวลา 19.27 โดยมีเรือรบรัสเซียบางส่วนหนีรอดไปได้ ซึ่งกองเรือญี่ปุ่น ได้ปฏิบัติการไล้ตามในเช้าวันรุ่งขึ้น

เมื่อการรบสิ้นสุดลง มีเรือรัสเซียเพียง 3 ลำเท่านั้นที่หนีรอดไปถึงวลาดิวอสต็อก ส่วนที่เหลือถูกญี่ปุ่นจมและยึด กำลังพลรัสเซียเสียชีวิตกว่า 5,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยกว่า 6,000 นายส่วนกำลังพลญี่ปุ่นเสียชีวิต 117 นาย ข่าวที่กองเรือบอลติกพ่ายแพ้หมดสภาพในเวลาแค่วันเดียว สร้างความตกตะลึงไปทั่วทั้งรัสเซียและยุโรป รัสเซียซึ่งขนะนี้ไม่เหลือศักยภาพที่จะสู้รบกับญี่ปุ่นได้อีก จึงยอมจำนน และนำไปสู่การลงนามสนธิสัญญาพอร์ตสมัท เป็นอันสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือรัสเซียได้ถูกตำหนิอย่างรุนแรงและเกิดความไม่พอใจรัฐบาลขึ้นในหมู่ประชาชน เป็นจุดเริ่มต้นของความตกต่ำของราชวงศ์โรมานอฟ กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ประจักษ์แสนยานุภาพต่อนานาชาติ และขึ้นมาแทนที่อันดับของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น http://www.csmonitor.com/2005/1230/p04s01-woap.htm... http://users.erols.com/mwhite28/warstat3.htm#RJW http://flot.com/history/steemfleet/index.htm http://books.google.com/?id=Jr8CAAAAYAAJ&dq=%22Rev... http://www.highbeam.com/doc/1P3-840737501.html http://www.russojapanesewar.com/ http://www.upi.com/Top_News/2006/06/16/Montenegro_... http://www.lib.byu.edu/~rdh/wwi/1914m/portsmouth.h... http://www.stanford.edu/class/slavgen194a/na_sopka... http://www.yale.edu/lawweb/avalon/lawofwar/hague03...